วันอังคารที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2556

สาระน่ารู้เรื่องของมะนาว

มะนาว ผลกลมที่มีรสเปรี้ยว สีเขียว สีเหลือง ลูกเล็กใหญ่ต่างไปตามสายพันธุ์ แม้จะขึ้นอยู่ในทวีปแถบโซนใด มะนาวก็คือมะนาวไม้ผล ที่มีรสเปรี่ยวยากจะลืมเลือน ด้วยรสชาติที่เปรี่ยวบาดปากทำให้ไม่อยากจะเชื่อว่า มะนาวคือพี่น้องสายพันธุ์เดียวกับส้มที่หลายคนนิยมชื่นชอบ มะนาวก็ไม่ต่างจากส้มที่มีมากหลากหลายสายพันธุ์ ตามถิ่นที่ปลูก ประเทศไทยเองก็มีพันธุ์ยอดนิยม ที่ปลูกกันมาก อาทิเช่น  
 1. มะนาวไข่ ที่คนไทยมักนำมาทำมะนาวดอง เนื่องจากมีเปลือกบาง ผลมีลัษณะกลม หัวท้ายยาว มีสีครายไข่เป็ด ผลโตมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2-3 เซนติเมตร  
2. มะนาวแป้น เป็นพันธุ์ที่มีน้ำมาก นิยมนำมาทำน้ำมะนาวดื่ม มีกลิ่นหอม ผลกลมแป้น และมีขนาดใหญ่กว่ามะนาวไข่ 
3. มะนาวทราย นิยมปลูกมากที่สุด เนื่องจากให้ลูกดกตลอดทั้งปี แต่ส่วนใหญ่ไม่นิยมนำมาบริโภคเพราะน้ำไม่หอมและรสขมปนมักปลูกเป็นไม้ประดับ ด้วยทรงพุ่มที่สวยงาม  
 
มะนาว มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Citrus aurantifolia (Christm.& Panz.) Swing.วงศ์ RUTACEAE เป็นไม้ยืนต้นมีทรงพุ่มสูงประมาณ 2-4 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยวหนา รูปไข่ ผิวใบไม้มีน้ำมันรสขม ก้านใบมีครีบเล็กๆ ดอกออกเป็นช่อสั้นๆ ที่ปลายกิ่งและที่ซอกใบดอกมีสีขาวและกลิ่นหอมอ่อนๆ ร่วงง่าย ผลเป็นผลกลม สีเขียว ผิวเรียบเกลี้ยง ฉ่ำน้ำ ผลแก่มีสีเหลือง รสเปรี้ยวจัด    
  เจ้าผลกลมเล็กๆ ไม่เพียงมีรสเปรี้ยวจี๊ด แต่ทางด้านการนำมาใช้ประโยชน์มากมาย จากรสเปรี้ยวนั้แหละเป็นที่ทราบกันดีว่า มะนาวเป็นพืชที่มีวิตามินสูงมาก โดยวิตามินชนิดนี้จะช่วยในการป้องกันโรคลักปิดลักเปิด โรคหวัด และยับยั้งการเจริญเติบโตของไวรัสในร่างกาย ใครที่มีปัญหาด้านสุขภาพด้านสุขภาพเจ็บป่วยเป็นหวัดบ่อยอาจหันมาใช่วิธีการง่ายๆ โดยการดื่มน้ำมะนาววันละ 1 ลูก ก็จะช่วยป้องกันโรคภัยให้ร่างกายได้ แต่เนื่องจากน้ำมะนาวมีความเปี่ยวมากจึงมีฤทธิ์เป็นกรด ในการรับประทานก็ควรจะรับประทานในขณะที่ท้องไม่ว่าง เพื่อป้องกันกรดที่จะกัดกระเพาะอาหารได้ จากกรดธรรมชาตินี้เอง จึงเป็นที่มาของกรดน้ำมะนาวมาใช้ในการทำให้เนื้อนุ่มก่อนที่จะนำมาประกอบอาหาร เปลือกมะนาวที่เหลือก็นำมาใช้ถูข้อศอก หัวเข่า ที่ด้านช่วยให้ผิวนุ่มหรือจะนำมาโรยด้วยเกลือ ใช้ขัดก๊อกน้ำหรือเครื่องทองเหลือง ทองแดง เพื่อให้เกิดความเงางาม เป็นประกายเหมือนใช้ของใหม่อยู่ตลอดเวลา
การใช้ประโยชน์ด้านสมุนไพรของมะนาว มีดังนี้คือ 
1. ใบ - ใช้สด นำมาต้มกิน ใช้เป็นยาแก้ไอ ละลายเสมหะ แก้ท้องอืด ท้องเสีย ช่วยขับลม และทำให้เจริญอาหาร 
2. ผล - ใช้ผลสด นำมาคั้นน้ำกิน หรือกินสด เป็นยาแก้ กระหาย แก้ร้อนใน บำรุงธาตุ เจริญอาหาร แก้เลือดออกตามไรฟันและถ่ายพยาธิ หรือใช้ผลดองเกลือจนเป็นน้ำสีน้ำตาล ใช้เป็นยาขับเสมหะทำให้ชุ่มคอ    
3. เปลือกผล -  ใช้เปลือกผลแห้ง ต้มเอาน้ำกิน เป็นยาแก้จุกเสียด แน่น แก้ปวดท้อง ขับเสมหะ บำรุงกระเพาะอาหาร ขับลม     4. ราก - ใช้รากสด นำมาต้มเอาน้ำกิน เป็นยาแก้การฟกช่ำจากการถูกกระแทก หรือการหกล้มแก้ปวด และแก้พิษสุนัขบ้า      สารเคมีและสารอาหารสำคัญ ในเปลือกของมะนาว มีน้ำมันหอมระเหย ซึ่งประกอบด้วย limonene,linalool,terpineol ในน้ำมะนาว มีสารเคมีเช่น Siaronoid,Organic acid,citral และวิตามินซี คุณค่าทางอาหารของมะนาว ประกอบด้วย น้ำ 89.37 เปอร์เซนต์ แคลเซียม 0.033 เปอร์เซ็น ฟอสฟอรัส 0.024 เปอร์เซ็น เหล็ก 0.0006 เปอร์เซ็นต์ และโปรแตสเซียม 0.193 เปอร์เซ็นต์       
   มะนาวเป็นเพืชที่ให้ผลผลิตดีในช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือน สิงหาคม ซึ่งถือเป็นช่วงที่มะนาวล้นตลาด จนบ้างคนเรียกว่าตลาดแตกเลยที่เดียว ช่วงนี้จึงเป็นช่วงที่เกษตรกรผู้ปลูกจะต้องทนรับราคาถูกแสนถูก เหมือนซื้อแล้วได้เปล่า ต่างจากช่วงเดือนเมษานที่ผลผลิตมะนาวยังมีออกสู่ตลาดไม่มากนักทำให้ราคาไม่ถูกไม่แพงจนเกินไป คนปลูกยิ้มได้ คนซื่อก็พอใจแต่เมื่อถึงฤดูกาลที่มะนาวออกมามากก็นับผู้บริโภคเอง เนื่องจากประโยชน์ของมะนาวมีมากไม่เพียงปรุงแต่งรสชาติอาหาร แต่ยังรวมไปถึงประโยชน์ในการเป็นเครื่องสำอางราคาถูก  
   มะนาวสามารถนำมาใช้เป็นครีมทาผิว ทำได้โดยนำมะนาวมาผ่าซีก ใช้ทาตามแขนขา หรือส้นเท้า หรืออาจใช้เปลือกมะนาว ที่คั้นน้ำออกแล้วทาบริเวณมือ ก็จะช่วยให้มือนิ่มนุ่มนวล ซึ่งการทำเช่นนี้จะช่วยให้ผิวสนชื่นเปล่งปลั้ง ไม่แห้ง      หรือจะนาทำน้ำยาดับกลิ่นปาก โดยก่อนการแปรงฟันเตรียมน้ำมะนาวให้พร้อม ตัดผ้าขาวบางเป็นชิ้นเล็กตามขนาดที่ต้องการแปรงฟันตามปกติเมื่อเสร้จแล้วให้เทน้ำมะนาวลงไปในผ้าขาวบางที่เตรียมไว้ จากนั้นนำอมในปาก หรือหันมะนาวเป็นชิ้นเล็กๆแล้วพันด้วยผ้าขาวบางอมไว้ได้เช่นกัน การทำเช่นนี้น้ำมะนาวจะค่อยๆซึมผ่านออกสู่ไรฟัน ช่วยรักษารากฟัน กลิ่นปาก ทำให้หายใจโล่ง แก้ร้อนในกระหายน้ำ
      มีความพยายามเป็นอย่างมากที่จะนำมะนาวมาใช้ประโยชน์ หรือแปรรูปเพื่อมูลค่า ซึ่งสามารถทำได้หลายรูปแบบ เช่น มะนาวดองเปรี้ยว หวานมะนาวแช่อิ่ม มะนาวผง น้ำมะนาว รวมทั้งวิธีต่างๆ ที่จะยืดอายุมะนาวให้นานขึ้นทั้งในรูปแบบของการเก็บรักษา เช่น การฝังมะนาวลงในกระบะทราย การคั้นน้ำมะนาวเก็บไว้ หรือแม้แต่การใช้ภูมิปัญญาด้วยการเจาะมะนาวเป็นรูเล็กๆ เมื่อต้องการใช้ในปริมาณน้อย บีบเอาน้ำออก เมื่อใช้เสร้จแล้วก็นำเนยแข็งมาอุดรูไว้ก็จะช่วยประยัดไม่ต้องเสียมะนาวไปทั้งลูก      ส่วนการใช้ประโยชน์ในต่างประเทศมีรายงานพบว่า มีการใช้มะนาวเป็นยาคุมกำเนิดมาตั้งแต่อดีตแถบบริเวณเมดิเตอร์เรเนียนด้วยการใช้สำลีชุบน้ำมะนาวแล้วสอดเข้าไปในช่องคลอดก่อนการมีเพศสัมพันธ์ กรดซิตริกที่มีอยู่ 5 % จะช่วยให้เสปิร์มไม่สามารถเคลื่อนตัวเข้าไปได้จำนวนครึ่งหนึ่งในเวลา 5 นาที วิธีการนี้อาจมีการใช้กันในบางพื้นที่ แต่สำหรับประเทศไทยคงต้องมีการศึกษาและการวิจัยความเหมะสมและความเสี่ยงกันอย่างจริงจังก่อนที่จะนำใช้เพื่อลดปัญหาและความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
       มะนาว พืชใกล้ตัว ไม่เพียงอยู่ในครัวแต่ยังขจรไปทั่ว จากสรรพคุณและประโยชน์ที่ใช้ได้อย่างปลอดภัย และที่สำคัญราคายังถูกอีกด้วย

วันเสาร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2556

การปลูกมะนาวในบ่อซีเมนต์ ทำมะนาวนอกฤดู

สวนมะนาวนอกฤดู

การปลูกมะนาวในบ่อซีเมนต์ และการทำมะนาวนอกฤดู
 
สำหรับเกษตรกรที่คิดจะปลูกมะนาวในวงบ่อซีเมนต์จำนวน 100 บ่อ จะใช้เนื้อที่ประมาณ 1 ไร่เท่านั้น ซึ่งจะใช้เงินลงทุนมากในช่วงเริ่มแรก ส่วนค่าใช้จ่ายหลักจะอยู่ที่วงบ่อซีเมนต์และฝารองซึ่งเมื่อรวมค่าใช้จ่ายกิ่งพันธุ์มะนาว, ระบบน้ำ ฯลฯ รวมเป็นเงินในการปลูกมะนาวในวงบ่อซีเมนต์จำนวน 100 วงบ่อ เป็นเงิน 27,000 บาทโดยประมาณ ต้นมะนาวในวงบ่อเมื่อมีอายุต้นเพียง 8 เดือน จะบังคับให้ต้นออกฤดูแล้งได้โดยใช้หลักการเดียวกับการปลูกลงดินคือคลุมพลาสติกให้กับต้นมะนาวในช่วงเดือนกันยายนและกระตุ้นการออกดอกในเดือนตุลาคม จะได้ผลผลิตมะนาวแก่ในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ซึ่งเป็นช่วงที่มะนาวราคาแพงที่สุด เท่ากับว่าในการปลูกมะนาวในวงบ่อซีเมนต์จะใช้เวลาเพียงปีเดียวเท่านั้นสามารถเก็บผลผลิตได้ในช่วงฤดูแล้

การเริ่มต้นจัดผังปลูกมะนาวในวงบ่อซีเมนต์

รายละเอียดของการเริ่มต้นการปลูกมะนาวในวงบ่อซีเมนต์ จะต้องวัดพื้นที่ กว้างxยาว ก่อน เพื่อจะหาพื้นที่ หลังจากนั้น เว้นทางเดินประมาณ 2 เมตร ระยะปลูกระหว่างต้น 1.20 เมตร ระยะระหว่างแถว 1.50 เมตร ปลูกแบบแถวคู่แล้วเว้นเป็นทางเดิน 2 เมตร สภาพพื้นที่ปลูกจะต้องปรับให้เรียบเหมือนกับลานตากข้าว วัดระยะการวางวงบ่อ การวางวงบ่อซีเมนต์พยายามวางให้เป็นเลขคู่เพื่อง่ายต่อการวางระบบน้ำและคำนวณแรงดันน้ำ แท็งก์จะแบ่งออกเป็น 2 ชุด ชุดแรกจะก่อให้สูง ประมาณ 5 วงบ่อ หรือมีความจุน้ำได้ 1,200 ลิตรจะใช้แท็งก์นี้เพื่อผสมปุ๋ยน้ำชีวภาพแล้วเปิดน้ำดีเข้าไปผสมปล่อยไปให้ต้นมะนาวในวงบ่อได้โดยตรง ส่วนแท็งก์อีกชุดหนึ่งจะก่อให้สูงประมาณ 9 วงบ่อ จำนวน 2 แท็งก์ เพื่อกักเก็บน้ำสะอาดแล้วช่วยในเรื่องของแรงดัน

การทำมะนาวนอกฤดู

การบังคับมะนาวนอกฤดูในวงบ่อซีเมนต์
1. แปลงนี้ปลูก มะนาวพันธุ์ตาฮิติ และพันธุ์แป้น อายุประมาณ 4 ปี ทั้งหมด 600 วงในเนื้อที่ 2 ไร่เศษ
2. การให้น้ำระบบมินิสปริงเกอร์ ให้น้ำเช้า - เย็น
3. มะนาวจะราคาแพงที่สุดคือช่วงเดือน มีนาคม – เมษายน ของทุกปี ดังนั้นเมื่อเก็บผลผลิตหมดในเดือน
พฤษภาคม ให้รีบดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้
- ตัดแต่งกิ่ง เด็ดผลที่เหลือบนต้นออก เพื่อบำรุงต้น เร่งการสร้างยอดใหม่ ใบใหม่โดย ผลมะนาวที่คุณภาพดีที่สุดคือผลที่เกิดจากยอดใหม่ ผลที่เกิดจากกิ่งเก่าคุณภาพจะด้อยลงมา ผลที่คุณภาพต่ำสุดคือผลที่เกิดติดกิ่ง หลังตัดแต่งกิ่งเสร็จใช้ปุ๋ยเคมี 15 – 15 – 15 ใส่หนึ่งกำมือต่อวง คุณพิชัยให้เหตุผลว่าหากไม่ใช้ปุ๋ยเคมีเลย ต้นจะไม่ค่อยสมบูรณ์เท่าที่ควร และพบอาการผลเหลืองที่ไม่ได้เกิดจากอาการม้านแดดมากกว่าปกติ เนื่องจากการให้ผลผลิตในปีที่ผ่านมา
ต้นมะนาวใช้ธาตุอาหารในการเลี้ยงลูกในปริมาณที่มาก
- เพิ่มวัสดุปลูกในวงบ่อเนื่องจากในแต่ละปีวัสดุปลูกจะยุบลง เพิ่มกาบมะพร้าวบริเวณโคนต้น เนื่องจากาบ
มะพร้าวผุพังไปบ้างในปีที่ผ่านมา กาบมะพร้าวเป็นวัสดุที่ช่วยเก็บรักษาความชื้นได้อย่างดี และยังเป็นวัสดุที่ช่วยเก็บ
รักษาปุ๋ยที่จ่ายมาทางระบบน้ำก่อนจะค่อย ๆ ปลดปล่อยธาตุอาหารให้ต้นมะนาวใช้ ป้องกันการสูญเสียธาตุอาหารอัน
เกิดจากการไหลบ่า หรือการระเหย
- การให้ปุ๋ยชีวภาพซึ่งได้จากการหมักหอยเชอรี่30 กก. เศษผลไม้ 10 กก. กากน้ำตาล 10 กก. เชื้อพด.
2 จำนวน 25 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร สูตรนี้สามารถใช้ฉีดพ่นทางใบ ในอัตรา 20 - 25 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตรได้ ในส่วนของ
การให้ทางระบบน้ำนั้น เทคนิคคือใช้ปุ๋ยชีวภาพในอัตรา 5 ลิตร ต่อน้ำ 1,250 ลิตร ให้ทุก 5 - 7 วัน โดยใน
การให้จะให้ครั้งละ 3 – 5 นาทีเพื่อให้กาบมะพร้าวบริเวณโคนต้นชุ่มก็พอ หลังจากนั้นก็ให้น้ำตาม รอบปกติ น้ำจะ
ค่อย ๆ ละลายธาตุอาหารลงไปให้ต้นมะนาวใช้ เป็นการจัดการที่ประหยัดปุ๋ย ใช้ปุ๋ยให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

- ในระยะนี้ต้องรักษาใบและยอดให้ดี เนื่องจากมีโรค แมลงที่สำคัญเข้าทำลายในระยะยอดอ่อนถึงเพสลาดคือ เพลี้ยไฟ และโรคแคงเกอร์ ในเรื่องสารเคมีคุณพิชัยให้แนวคิดว่าบางระยะยังต้องมีการใช้อยู่ แต่ต้องเลือกใช้ในระยะที่
ปลอดภัยต่อผู้บริโภค คือใช้ในระยะก่อนเก็บเกี่ยวไม่น้อยกว่า 2 เดือน เนื่องจากแปลงเรียนรู้นี้ปลูกทั้งพันธุ์ตาฮิติ และพันธุ์แป้นคละกันไป พันธุ์แป้นอ่อนแอต่อโรคแคงเกอร์มาก
- หลักการใช้สารเคมีในแปลงมะนาว นอกจากเพลี้ยไฟ โรคแคงเกอร์แล้วยังมีโรคและศัตรูอื่น ๆ อีก เช่น หนอนชอนใบ หนอนกัดกินใบ แมลงค่อม โรคยางไหล โรคราเข้าขั้ว การเลือกใช้ชนิดของ
สารเคมีและระยะที่ใช้จึงมีความจำเป็น หากอยู่ในระยะที่ใช้สารเคมีได้ เพลี้ยไฟ และหนอนชอนใบมีสารเคมีที่ คุณพิชัยเลือกใช้ในการป้องกันกำจัดคือ อะบาแม็กติน อัตรา 3 – 10 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร ( ทั้งนี้อัตราการใช้แล้วแต่ความเข้มข้นของแต่ละบริษัทที่ผลิต ) หากพบการระบาดมากจะใช้สาร อิมิดาคลอพริด อัตรา 3 – 5 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร แมลงค่อมหรือด้วงปีกแข็งใช้สารคาร์โบซัลแฟน อัตรา 20 – 30 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร หรือไซเปอร์เมทริน อัตรา 5 – 10 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร โรคราเข้าขั้วใช้สารป้องกันกำจัดเชื้อราแมนโคเซ็บ อัตรา 20 – 30 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือคาร์เบ็นดาซิม อัตรา 10 – 20 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร ความถี่ในการฉีดพ่น ทุก 7 - 15 วัน หรือแล้วแต่สภาพการระบาดของโรคแมลง นอกเหนือจาก
ระยะนี้แล้ว 2 เดือนก่อนเก็บเกี่ยว คุณพิชัยเลือกใช้น้ำหมักชีวภาพที่มีฤทธิ์ไล่ และกำจัดแมลง โดยใช้น้ำหมักที่หมักจาก
สมุนไพรที่ มีรสเผ็ด ขม เหม็น เช่น ขิง ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด บอระเพ็ด สะเดา ใช้สมุนไพรดังกล่าวอย่างใดอย่างหนึ่ง
30 กก. กากน้ำตาล 10 กก. พด. 7 จำนวน 25 กรัม ต่อน้ำ 30 ลิตร หมัก 20 วัน นำมาฉีดพ่นในอัตรา 25 ซีซีต่อน้ำ 20
ลิตรทุก 7 - 15 วัน
- เนื่องจากมะนาว มีอายุ ประมาณ 5 เดือนสามารถเก็บขายได้ในเดือนที่ 6 การวางแผนการบังคับให้ออกนอกฤดู คือต้องทำให้ออกดอก เดือนตุลาคม เดือนกันยายนต้องงดปุ๋ย งดน้ำ จากประสบการณ์ของคุณพิชัยจะเลือกใช้จังหวะฝนทิ้งช่วงประมาณ 7 – 15 วัน เป็นการงดน้ำไปในตัว เนื่องจากมะนาวแปลงนี้ 600 วง คุณพิชัยจัดการเพียง
คนเดียวจึงไม่สะดวกที่จะเลือกใช้พลาสติกคลุม เพราะพลาสติกก่อให้เกิดไอน้ำเกาะบริเวณผิวด้านในพลาสติก ลดความชื้น
ในดินยาก หากจะให้ได้ผลดี ในวันที่แดดออกต้องแกะพลาสติกออกให้น้ำระเหย หากฝนตกต้องคลุมพลาสติก เป็นการจัดการที่ยากในกรณีที่ไม่มีแรงงานเพียงพอ
- งดน้ำจนใบเหี่ยว สลด และหลุดร่วงประมาณ 50 – 60 เปอร์เซ็นต์ หลังจากนั้นให้น้ำตามปกติ ปุ๋ยเคมีที่ใช้เพื่อเปิดตาดอกในระยะนี้คือ ปุ๋ยที่มีตัวกลางสูงเช่น 12 – 24 – 12 หรือ 15 – 30 -15 ปริมาณ 1 กำมือต่อวงรดน้ำให้ชุ่มเพื่อให้ปุ๋ยละลาย
- หลังติดดอกแล้วให้น้ำตามปกติเช้า – เย็น เวลาละ 5-10 นาที
- ปุ๋ยทางดินที่คุณพิชัยใช้ทดแทนปุ๋ยเคมี ตลอดฤดูการผลิตคือปุ๋ยอินทรีย์ที่หมักจากเศษพืช มูลสัตว์ กากหอยเชอรี่ เป็นการลดต้นทุนการผลิต ลดภาวะดินเสื่อมโทรม ปรับสภาพดินให้สมบูรณ์ อย่างยั่งยืน